ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือหายาก



ตัวอย่างหนังสือหายาก (คลิกภาพเพื่อเข้าสู่แหล่งที่มา)
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 75

ราชกิจจานุเบกษาในรัชกาลที่ 5 เล่มที่ 5-6
(หมายเหตุ : คลิกภาพเพื่อค้นหาราชกาจจินุเบกษาฉบับอื่นๆ)
วชิรญาณวิเศษ

พระอะไภยมะณี
หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ
นางมาลินี ชมเชิงแพทย์
ใบลาน (หนังสือผูก)


คัมภีร์ใบลาน
สมุดข่อย มหาพุทธกรุณา




แผนที่การเดินทัพ สมัยพระนารายณ์

การซ่อมบำรุงอนุรักษ์

การซ่อมแซมเพื่ออนุรักษ์หนังสือหายาก
             การซ่อมแซมหนังสือโดยทั่วไป เป็นการทำให้หนังสือที่ชำรุดเสียหายกลับคืนสู่สภาพดีดังเดิมพร้อมใช้งานได้ต่อไป หนังสือที่ชำรุดมีด้วยกันหลายประเภท หลายลักษณะ เช่น หนังสือฉีกขาดเฉพาะที่ ฉีกขาดบางหน้า ปกและสันหลุด เป็นต้น การซ่อมหนังสือเหล่านี้ถ้าชำรุดไม่มากผู้ดูแลหนังสือสามารถซ่อมแซมได้ด้วยตนเองโดยใช้เวลาไม่นานแต่ถ้าชำรุดเสียหายมากต้องมอบให้ผู้ที่มีความชำนาญด้านการซ่อมเป็นผู้ดำเนินการ อย่างไรก็ดีผู้ปฏิบัติงานต้องรู้จักสภาพความชำรุดของหนังสือ สามารถดัดแปลง แก้ไข นำวิธีการใหม่ๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพความชำรุดของหนังสือแต่ละเล่มได้เป็นอย่างดี การซ่อมอนุรักษ์หนังสือหายากนั้นไม่สามารถซ่อมได้ด้วยวิธีการเหมือนกับหนังสือธรรมดาโดยทั่วไป การปฏิบัติงานต้องเป็นไปตามขั้นตอนและถูกต้องตามหลักวิชาการ บางขั้นตอนต้องใช้กรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยดำเนินการเนื่องจากมีสาเหตุของการชำรุดเสื่อมสภาพที่ไม่เหมือนกัน

ขั้นตอนการซ่อมอนุรักษ์หนังสือหายาก
ตรวจสอบสภาพหนังสือ
ตรวจสอบความเป็นกรดในกระดาษ
เลาะเล่ม
แช่น้ำยาลดกรดเอกสาร
การซ่อมเสริมความแข็งแรง
การทำเอกสารให้เรียบ

 การทำความสะอาด
1.ทำความสะอาดแบบแห้ง (Dry Cleaning) มีขั้นตอนดังนี้
        -ทำเกราะป้องกันการกระจายของฝุ่นเข้าจมูก
        -ใช้แปรงขนอ่อนปัดฝุ่น โดยปัดไปทิศทางเดียวกัน
2.ทำความสะอาดแบบเปียก (Wet cleaning) มีขั้นตอนดังนี้
        -วาง Object ลงบนแผ่น Polythene
        -ใช้กระบอกฉีดน้ำ (Spray) ค่อยๆ ฉีด


ศึกษาวิธีการซ่อมบำรุงหนังสือหายากเพิ่มเติมได้ที่ 
http://main.library.tu.ac.th/km/wp-content/uploads/2014/10/KM54-raritem.pdf
: http://www.nlt.go.th/sites/default/files/rarebook.pdf 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น