หลักเกณฑ์ในการพิจารณาหนังสือหายาก

  หลักเกณฑ์ที่จะใช้พิจารณาหนังสือหายากโดยทั่วไป (ปริทัศน์หนังสือหายาก,)

1. หนังสือเก่าแก่หาได้ยาก (rarity) ส่วนมากเป็นหนังสือที่มีค่าด้านการพิมพ์ เป็นเอกสารปฐมภูมิ (primary source) ในด้านประวัติและพัฒนาการของการพิมพ์ของโลก เช่น
       1.1 หนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวแกะไม้ (blockbooks) เป็นหนังสือที่พิมพ์ในยุคก่อนที่มนุษย์จะคิดวิธีเรียงพิมพ์ขึ้นได้
       1.2 อินคูนาบูลา (Incunabula) ที่ผลิตขึ้นด้วยวิธีเรียงพิมพ์ (movable metal type) ในยุโรประหว่าง ค.ศ. 1450 ถึง 1501 ซึ่งเป็นระยะ 50 ปีแรกที่มนุษย์คิดค้นการเรียงพิมพ์ขึ้นได้ ลักษณะของตัวพิมพ์ในยุคนี้เป็นชนิดที่เรียกว่า แบลค เลตเตอร์ (black letter) หรือ กอติค (Gothic) ซึ่งมีเอกลักษณ์พิเศษไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ของศิลปะหรือในแง่ประวัติศาสตร์ของการพิมพ์ ตรงกับความหมายของคำว่า อินคูนาบูลา ในภาษาละตินซึ่งหมายถึงแหล่งกำเนิด หรือ การเริ่มต้นของกิจการต่างๆ ลักษณะของตัวพิมพ์แบบนี้จะเริ่มเปลี่ยนแปลงใน ค.ศ. 1501 เมื่ออัลดัส มานูติอัส (Aldus Manutius) ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์เก่าแก่คิดใช้ตัวเอน (italic) ขึ้น

2. หนังสือเก่าซึ่งมีความสำคัญในด้านที่เป็นเอกสารปฐมภูมิในด้านประวัติการพิมพ์ของแต่ละประเทศหรือแต่ละภูมิภาค (local rarity) 

  • ซึ่งโดยทั่วไปมักจะกำหนดเอาระยะ 50-80 ปีแรกของพัฒนาการด้านการพิมพ์ในแต่ละพื้นที่เป็นเกณฑ์   เช่น กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียเริ่มมีพัฒนาการด้านการพิมพ์ราว ค.ศ. 1480 หนังสือที่ผลิตใหม่ในภูมิภาคนี้ระหว่าง ค.ศ. 1480-1550 จึงจัดเป็นหนังสือหายาก
  • ในประเทศไทย เริ่มกิจการการพิมพ์เมื่อประมาณ พ.ศ.2379 ระยะ 50-80 ปีแรกของการผลิตหนังสือนั้นตัวพิมพ์ในไทยสมัยแรกนี้อาศัยเลียนแบบการเขียนหนังสือบรรจงแบบเก่าด้วยปากกาจิ้มบนกระดาษที่ไม่เรียบนัก 


  •  ภายหลัง ดร. แดน บีช แบรดเลย์ (Dr. Beach Bradley, 1802-1871) ได้คิดก้ไขตัวพิมพ์อักษรไทยให้มีสัดส่วนงดงามขึ้น และได้มีการปรับปรุงต่อมาจนเป็นอักษรไทยที่ใช้กันทุกวันนี้
  •  หนังสือที่ผลิตขึ้นในระยะ 3 ปีแรกของการพิมพ์ในไทยเป็นเอกสารในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของมิชชันนารี จนถึงวันที่ 27 เมษายน พ.ศ.2382 ได้มีการพิมพ์เอกสารราชการฉบับแรก คือ พระบรมราชโองการประกาศห้ามสูบฝิ่น จำนวน 9,000 ฉบับ
  • นอกจากนี้ ดร. แบรดเลย์ยังมีการจัดทำหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรก คือ บางกอกรีคอร์เดอร์ เริ่มออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2387 เนื้อหาได้แก่ เรื่องทั่วไป ข่าวราชการ ข่าวการค้า ฯลฯ ส่วนวารสารของทางราชการฉบับแรก คือ ราชกิจจานุเบกษา เริ่มออกเมื่อ พ.ศ.2401
3. หนังสือที่มีการพิมพ์จำนวนจำกัด 
         ในการพิมพ์หนังสือครั้งหนึ่งๆ จะมีบางฉบับที่ผู้แต่งหรือสำนักพิมพ์จัดพิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดี  ใช้ตัวพิมพ์ชนิดพิเศษ มีภาพประกอบสวยงาม เย็บปกเข้าเล่มอย่างประณีต เพื่อเป็นอภินันทนาการแก่มิตรสหาย โดยให้แตกต่างกับอีกส่วนที่จัดพิมพ์เพื่อจำหน่าย

4. หนังสือฉบับพิมพ์ครั้งแรก หมายถึง การจัดพิมพ์ต้นฉบับออกมาในรูปเล่มของหนังสือเป็นครั้งแรก

5.ความเด่นของหนังสือ หนังสือหายากประเภทนี้ มิได้เน้นถึงความดีมีคุณค่าของเนื้อหาสาระ หรือการใช้ภาษาอย่างถูกต้องไพเราะ แต่หมายถึงความเด่นในลักษณะที่แตกต่างไปจากผลงานส่วนใหญ่ ของนักเขียนสามัญ เช่น เรื่องที่กุขึ้นหรือเป็นการปลอมแปลงวรรณกรรม

6. หนังสือเก่าที่มีสภาพรูปเล่มสมบูรณ์ หรือมีสภาพรูปเล่มที่สวยงาม เช่น หนังสือเก่าที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันที่มีสภาพเหมือนเมื่อแรกออกจำหน่าย มีกล่องบรรจุ มีใบหุ้มปกทุกหน้าในเล่ม ไม่มีรอยพับหรือฉีกขาด หรือหนังสือภาพประกอบที่มีคุณค่า เช่นผู้เขียนวาดหรือถ่ายภาพด้วยตนเอง หนังสือที่ใช้วัสดุมีค่าจัดทำอย่างประณีตสวยงาม เช่น ใช้หนัง แพร ไหม แผ่นเงิน แผ่นทองแทนกระดาษ หรือการเย็บปกเข้าเล่มทำเป็นพิเศษ เช่น ปกนอก ทำด้วยงาช้างประดับเพชรพลอย

7. หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง ว่าเคยเป็นของผู้ใดมาก่อน เช่น หนังสือของหอสมุดแห่งชาติไทยในปัจจุบัน ก็สืบเนื่องมาจากการรวบรวมหนังสือในหอพระสมุด ซึ่งสมเด็จพระมหากษัตราธิราชในพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงสร้างขึ้นไว้เป็นหนังสือที่มีประวัติการครอบครองว่าเคยเป็นของบุคคลสำคัญ หรือเคยเป็นสมบัติของห้องสมุดที่มีชื่อเสียง จึงเป็นหนังสือหายากที่มีราคา

เกณฑ์การประเมินประเภทและลักษณะของหนังสือหายากภาษาไทย รักสยามหนังสือเก่า.  (2553).
1. หนังสือที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์การพิมพ์ คือ
     1.1 หนังสือเก่าที่มีการจัดพิมพ์ในช่วงรยะ 50-80 ปีของพัฒนาการด้านการพิมพ์ในประเทศไทย(พ.ศ.2379-2430และ พ.ศ.2431-2460)
     1.2  หนังสือปกอ่อนประเภทบันเทิงคดี จากโรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ
    1.3 หนังสือที่มีการพิมพ์จำนวนจำกัด คือ หนังสือที่จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสต่างๆ เช่นงานวันครบรอบอายุ งานวันเกิด  งานพระราชพิธี และงานศพ
     1.4 หนังสือที่พิมพ์ในช่วง พ.ศ.2485-2487 ซึ่งเป็นช่วงสมัยที่มีการปรับปรุงการเขียนภาษาไทยให้คงเหลือพยัญชนะเพียง 31 ตัว คือ ก ข ค งฉ ช ซ ญ ดต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ส ห อ ฮ และตัด ไ ฤ ฤา ภ ภา ออก ตัด ทร ให้ใช้ ว แทนตัว ญ  ตัดเชิงล่างออก เป็นต้น

2. หนังสือที่มีเนื้อหากล่าวขวัญถึง ประกอบด้วย
  2.1 หนังสือที่รัฐบาลประกาศให้เป็นหนังสือต้องห้าม ซึ่งกระทรวงมหาดไทยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง กำหนดชื่อเอกสารและสิ่งพิมพ์ที่ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ครอบครอง เช่น หนังสือ The King Never Smiles  กษัตริย์ไม่เคยยิ้ม , กงจักรปีศาจ (The Devil's Discus),  A Coup for the Rich ; รัฐประหารเพื่อคนรวย เป็นต้น
       2.2 หนังสือที่เป็นผลงานเพียงเรื่องเดียว หรือเป็นผลงานเพียงส่วนน้อยที่ต่างไปจากผลงานส่วนใหญ่ของนักเขียน
     2.3 หนังสือที่กุขึ้นหรือ เป็นการปลอมแปลงวรรณกรรม หมายถึง หนังสือ หรือเอกสารที่แต่งขึ้นโดยเจตนาจะหลอกลวงว่า เป็นผลงานของนักเรียนที่มีชื่อเสียงหรือ เอกสารที่มีคุณค่าทางประวิติศาสตร์

3. หนังสือเก่าที่มีสภาพรูปเล่มสมบูรณ์ หรือมีสภาพรูปเล่มสวยงาม ประกอบด้วย
      3.1 หนังสือเก่าที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีสภาพรูปเล่มสมบูรณ์ เช่น มีกล่องบรรจุ มีใบหุ้มปกนอกไม่ชำรุด ทุกหน้าในเล่มไม่มีรอยพับหรือฉีกขาด และข้อความไม่เปรอะเปรื้อน
    3.2 หนังสิอซึ่งใช้วัสดุมีค่า จัดทำอย่างจาณีตบรรจง การเข้าเล่มเย็บปกแข็งแรงทนทาน  การจัดรูปเล่มสวยงามและตกแต่งหน้าปกด้วยวัสดุที่มีคุณค่า หนังสือพระราชนิพนธ์ประเภทวรรณคดีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยุ่หัว ส่วนใหญ่เป็นหนังสือปกแข็ง การจัดรูปเล่มประณีต บรรจงและสวยงาม ใช้ปกสีต่างๆ หน้าปกมีลวดลายและมีอักษรบนหน้าปกเป็นตัวนูน และเดินทองทุกตัว
    3.3 หนังสือที่มีภาพประกอบที่มีคุณค่า  เช่น ภาพประกอบที่ผู้เขียนวาดหรือถ่ายภาพด้วยตนเอง ภาพประกอบที่อาจดึงออกจากเล่มโดยง่าย ภาพประกอบที่เป็นภาพฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือภาพประกอบที่วาดโดยจิตรกรที่มีชื่อเสียง
       3.4 หนังสือที่มีขนาดและรูปเล่มต่างไปจากรูปแบบธรรมดาทั่วไป

4. หนังสือที่มีประวัติการครอบครอง คือ
      4.1 หนังสือที่มีภาพของผู้แต่ง หรือเจ้าของหนังสืออยุ่ในเล่ม
      4.2 หนังสือที่มีบรรณสิทธิ์ (Book plate) คือ ป้าย หรือ ตราประจำตัวของเจ้าของหนังสือ
      4.3 หนังสือฉบับที่มีรายมือชื่อ หรือข้อความที่เจ้าของเดิมเขียนไว้ในตัวเล่ม

5.หนังสือหายากประเภทอื่นๆ
      5.1 แบบเรียน
      5.2 การ์ตูนสมัยโบราณ
      5.3 หนังสือตราหอ
      5.4 หนังสือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทยที่เขียนโดยชาวต่างประเทศ
      5.5  หนังสือตัวเขียน เช่น สมุดข่อย คัมภีร์ใบลาน ปั้บสา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น