ที่มาของหนังสือหายากในประเทศไทย

หนังสือหายากในประเทศไทย (ปริทัศน์หนังสือหายาก, 2516)
          เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 การพิมพ์ยังไม่เกิดขึ้น ยังเป็นการเขียนอยู่ สมัยนั้นจะมีการเขียนหนังสืออยู่ 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 

          1. หนังสือเขียนสมุดไทย เช่น ตำรับตำราต่างๆ คาถาอาคม อักขระเลขยันต์ เป็นต้น
          2. หนังสือคัมภีร์ใบลาน เช่น ปริศนาอาคม ลายแทง คัมภีร์การทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เป็นต้น
          3. หนังสือสมุดข่อย เช่น จดหมายไปมาถึงกัน ใบบอกในราชการ

หนังสือสมุดเขียนไทย ส่วนมากมีไว้อ่านเป็นสามัญ บ้างก็เขียนด้วยเส้นหมึก(สีดำ) บ้างก็เขียนด้วยเส้นฝุ่น(สีขาว) แต่หากมีความพิเศษหน่อยก็จะเขียนด้วยเส้นทอง

  

หนังสือคัมภีร์ใบลาน จะมีการจารึกเนื้อหาลงในใบลาน ร้อยเชือกเก็บไว้ หนังสือประเภทนี้มีจำนวนน้อย ถ้าอยู่ในมือผู้รู้ก็มักจะเป็นท่หวงแหน



หนังสือสมุดข่อย เขียนเนือหาลงในกระดาษข่อยด้วยดินสอดำ ม้วนใส่กระบอกไม้ไผ่ เอาเชือกผูกไว้เป็นมัดๆ มักมีเก็บอยู่ตามสำนักราชการ

กิจการการพิมพ์ในไทยเริ่มในรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หากแต่มาแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 วิวัฒนาการการพิมพ์เจริญขึ้นมาก ได้มีการตั้งหอพระสมุดพระนคร(หอพระสมุดวชิรญาณ; หอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน) ขึ้น ต่อมาคณะกรรมการได้ปรึกษาเห็นว่าหอพระสมุดควรจะมีหนังสือไทยฉบับเขียนของเก่าเสียก่อน เพราะหนังสือฉบับพิมพ์จะซื้อเมื่อไหร่ก็ได้ อย่างไรเสียกิจการการพิมพ์ของตะวันตกก็ได้แพร่หลายพอสมควรแล้ว แต่หนังสือไทยเก่าๆ ยังกระจัดกระายอยู่มาก หากชักช้าจะเป็นอันสูญหาย

กรมพระหอสมุดจึงมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทำการสืบเสาะหาหนังสือไทยฉบับเขียนด้วยการไปขอตามที่มีเป็นแหล่งใหญ่ๆ เช่น วังหน้า หรือเจ้าหน้าที่บางรายมีไว้ในครอบครองก็นำมาให้ ซึ่งการจะตามหาหนังสือหายากที่กระจัดกระจายอยู่ตามเมืองนั้นก็เป็นเรื่องยากโข ท่านพระยาจึงออกอุบายว่า หอพระสมุดจะรับซื้อหนังสือเขียน ประชาชนที่ทราบข่าวก็เริ่มทะยอยนำหนังสือของตนมาขาย สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเป็นผู้คัดเลือกเองทั้งหมด บางกรณีมีคนมาขาย ตั้งราคาไว้ 1 บาท แต่พระองค์ทรงรับซื้อในราคาตั้ง 4-5 บาท การที่ผู้ขายได้กำไรหลายเท่าอย่างกรณีนี้ จึงทำให้ผู้คนเริ่มเสาะแสวงหาหนังสือฉบับเขียนเพื่อนำมาขายมากขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น